ปุชฉา : การประเมินความสำเร็จหลังเรียน
มีลักษณะอย่างไร
วิสัชนา :
1. เลือกวิธีและเครื่องมือการประเมนให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด
หรือผลการเรียนรู้ เช่น การประเมินด้วยการสังเกต การซักถาม การตรวจแบบฝึกหัด การประเมินตามสภาพจริง
การประเมินการปฏิบัติ เป็นต้น
2. สร้างเครื่อง มือวัดและประเมินผลการเรียนให้สอดคล้องกับวิธีการประเมินที่กำหนด
3. ดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการจัดกจกรรมการเรียนรู้
4. นำผลไปพัฒนาผู้เรียน
การประเมินความสำเร็จหลังเรียน เป็นการประเมินเพื่อมุ่งตรวจสอบความสำเร็จของผู้เรียนใน 2 ลักษณะ คือ
1. การประเมินเมื่อจบการเรียนรู้ เป็นการประเมินผู้เรียนในหน่วยการเรียนรู้ที่ได้เรียนจบแล้ว
เพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ พัฒนาการของผู้เรียน เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับผลการประเมินวิเคราะห์ผู้เรียน
ทำให้สามารถประเมินศักยภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้
ของผู้เรียน ข้อมูลที่ได้จากการประเมินความสำเร็จภายหลังการเรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขวิธีการเรียนของผู้เรียน
การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน หรือซ่อมเสริมผู้เรียนให้บรรลุตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้
การประเมินหลังเรียนนี้ จะสอดคล้องกับการประเมินวิเคราะห ์ผู้เรียนก่อนการเรียนการสอน
หากใช้วิธีการและเครื่องมือ ประเมินชุดเดียวหรือคู่ขนานกัน เพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียนได้ชัดเจน
2. การประเมินปลายปี/ปลายภาค เป็นการประเมินผลเพื่อตรวจสอบผลสัมฤทธิ
์ของผู้เรียนในการเรียนรู้ ตามตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ และใช้เป็นข้อมูลสำหรับปรับปรุงแก้ไข
ซ่อมเสริมผู้เรียนที่ไม่ผ่านการประเมินตัวชี้วัด การประเมินปลายปี/ปลายภาคสามารถใช้วิธีการและเครื่องมือประเมินได้อย่างหลากหลายและเลือกใช้ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด
อาจใช้แบบทดสอบชนิดต่างๆ หรือประเมิน โดยใช้ภาระงานหรือกิจกรรม โดยมีขั้นตอนหรือวิธีการ
ดังนี้
1) เลือกวิธีการและเครื่องมือที่จะใช้ในการวัดและประเมินผล
2) สร้างเครื่องมือประเมิน
3) ดำเนินการประเมิน
4) นำผลการประเมินไปใช้ตัดสินผลการเรียน ส่งผลการเรียนซ่อมเสริม
แก้ไขผลการเรียน