Sunday, 4 August 2013

การดำเนินงานเกี่ยวกับการนำผล O-NET

ปุจฉา : การดำเนินงานเกี่ยวกับการนำผล O-NET เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสำเร็จการศึกษา (Exit Exarmination) อย่างไร

วิสัชนา :

ดำเนินการดังนี้
1. ใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระฯ (GPAX) : ผลสอบ O-NET
ปีการศึกษา 2555 ใช้ 80 : 20
ปีการศึกษา 2557 ใช้ 60 : 40
ปีการศึกษา 2558 ใช้ 70 : 30
ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป ใช้ 50 : 50

       วิธีการคิด 80 : 20
               1) ส่วน 80% ให้โรงเรียนแปลงเวลาเรียนเป็นหน่วยน้ำหนัก 40 ชั่วโมง = 1 หน่วยน้ำหนัก GPAX (ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม) = ผลรวมของ (หน่วยน้ำหนัก x ผลการเรียนรายวิชา) / หน่วยน้ำหนักทั้งหมด และนำ GPAX คูณด้วย 80%

               2) ส่วน 20% สทศ. ทำเกณฑ์กำหนดการเทียบคะแนน Normalization T score Norm จากผล O-NET ปี 2555 ใช้ระดับผลการทดสอบ และค่าน้ำหนักรายวิชาพื้นฐาน (โรงเรียนไม่ต้องทำ มีคำนวณให้ในโปรแกรม)

              3) นำส่วนที่ 1) และ 2) มารวมกันเป็น 100%

              4) การบันทึกผล จะปรากฏอยู่ด้านหลังของแบบ ปพ.1 จะมีผลการเรียนเฉลี่ย 8 กลุ่มสาระฯ และผลจากอัตราส่วน 80 : 20  ม.ต้น ตามแบบ ปพ.1 จะเป็นหน่วยกิตอยู่แล้ว ก็นำ GPAX มาคำนวณได้เลย

***กรณีนักเรียนไม่สอบ O-NET ด้วยเหตุผลจำเป็น เช่น ผ่าตัด ป่วยกระทันหัน จะมีการเปิดสอบเพิ่มเติม แต่ถ้าไม่สามารถเดินทางไปสอบได้ให้เป็นอำนาจของสถานศึกษา โดยคะแนนรวม 100% อาจน้อย ก็ให้จบได้ (ถือเป็นหลักจิตวิทยา)
2. โปรแกรมสำหรับจัดทำเอกสารหลักฐานทางการศึกษา ได้แก่

.           โปรแกรม Student2551 เป็นโปรแกรมสำหรับงานทะเบียนและวัดผล ในการจัดทำข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียนเฉลี่ยของผู้เรียน และการจัดทำเอกสารหลักฐานทางการศึกษา ขณะนี้ใช้ได้เฉพาะโรงเรียนสังกัด สพม.และโรงเรียนสังกัดอื่นที่เปิดสอนระดับ ม.ปลาย

การประเมินการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ UbD

ปุจฉา : การประเมินการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ UbD ในเมื่อมีรายละเอียดเหมือนกับแผนการจัดการเรียนรู้ ครูจะต้องทำแผนการจัดการเรียนรู้อีกหรือไม่

วิสัชนา :


คุณครูต้องศึกษา ทำความเข้าใจว่าการออกแบบหน่วย UbD : Understanding by Design คือ อะไร และจะต้องดำเนินการอย่างไร การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สอนได้ยึดมาตรฐานการเรียนรู้หรือเป้าหมายการเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เราสามารถจัดแผนการจัดการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ได้เลย อาจจัดเป็นรายชั่วโมง หรือรายตัวชี้วัด /กิจกรรม โดยแต่ละกิจกรรมจะมีการบันทึกหลังสอน มีเป้าหมายการเรียนรู้ในแต่ละชั่วโมง หรือรายตัวชี้วัด ครูประเมินผู้เรียน โดยใช้ระดับคุณภาพ แต่ถ้าตัวชี้วัดใดที่ครูเห็นว่าสำคัญ อาจตัดสินเป็นคะแนนได้เลย และสุดท้ายครูจะต้องตัดสินผู้เรียนว่าในหน่วยการเรียนรู้นี้นักเรียนรู้อะไร ทำอะไรได้ในหน่วยการเรียนรู้ และบันทึกหลังหน่วยการเรียนรู้ว่านักเรียน เป็นอย่างไรใช้วงจรคุณภาพการเรียนรู้ P-A-O-R

การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design

ปุจฉา : การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design ครูผู้สอนจะต้อง ดำเนินการอย่างไร

วิสัชนา :

ครูจะต้องทำความเข้าใจว่า Backward Design เป็นแนวคิดในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่รับประกันว่าผู้เรียนบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้หรือบรรลุเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ได้ ไม่แผนการจัดการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design มีขั้นตอนสำคัญ ๆ 3 ขั้นตอนคือ

ขั้นตอนที่ 1 กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ ซึ่งครูผู้สอนจะต้องตั้งคำถามและสร้างภาพในใจว่า ผู้เรียนรู้อะไร ทำอะไรได้ มีความสามารถอะไรบ้าง ตามมาตรฐานการเรียนรู้ เนื้อหาแบบใหนที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งควรมีอะไรบ้าง

ขั้นตอนที่ 2 กำหนดหลักฐานการเรียนรู้ ซึ่งครูผู้สอนจะต้องสร้างภาพ และคำถามในใจว่า รู้ได้อย่างไรว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้ ชิ้นงานแบบใหนที่มีคุณภาพและสะท้อนการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ หรือตามเป้าหมายที่กำหนด รู้ได้อย่างไรว่า ผู้เรียนเกิดความเข้าในที่พึงประสงค์


ขั้นตอนที่ 3 วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ความรู้และทักษะอะไร ที่จะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไรที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายตามมาตรฐานการเรียนรู้ สื่อการสอนประเภทใด ชนิดใด จึงจะเหมาะสมสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว

วิธีการประเมินผลในหน่วยการเรียนรู้

ปุจฉา : วิธีการประเมินผลในหน่วยการเรียนรู้ กำหนดให้ประเมินโดยใช้เกณฑ์การประเมินเท่านั้น ถ้าใช้วิธีการที่หลากหลายจะได้หรือไม่

วิสัชนา :

การให้คะแนนแบบ rubrics scoring เป็นรูปแบบการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) และการกระเมินการปฏิบัติ (Performent Assessment) ที่อธิบายคุณภาพชิ้นงาน/ภาระงานในระดับต่างๆ วิธีการนี้ จะช่วยให้เห็นเส้นทางว่าเมื่อประเมินแล้วจะพัฒนาผู้เรียนต่อไปในทิศทางใดเป็นวิธีการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน (Assessment for learning) ซึ่งสามารถใช้กับวิธีการประเมินที่หลากหลายได้ ดังนั้นการประเมินที่หลากหลายนั้นเป็นเรื่องที่ควรกระทำอย่างยิ่งและหากจะเพิ่มคุณภาพการประเมิน ควรใช้การให้คะแนนแบบ rubrics scoring

วิธีการประเมินที่หลากหลายและต่อเนื่อง ได้แก่

1. การเลือกวิสัชนา:ที่ถูกต้อง ( Selected Response)
2. คำถามสั้น ๆ ( Constructed Response)
3. อัตนัย ( Essay)
4. ประเมินที่จัดขึ้นภายในโรงเรียน (School – related Product Performance)
5. ประเมินจากบริบทจริง ( Contextual Product/Performance)

6. สังเกต (Observation) คุณครูจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ จึงจะนำพาผู้เรียนบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ได้

การประเมินผลโดยใช้เกณฑ์การประเมิน (Rubrics)

ปุจฉา : การประเมินผลโดยใช้เกณฑ์การประเมิน (Rubrics) เป็นอย่างไร ทำไมต้องทำ

วิสัชนา : 

การกำหนดประเด็นการประเมิน อาศัยข้อมูลจากสาระสำคัญของหน่วยการเรียนรู้ โดยสามารถพิจารณาทั้งในภาพรวม ( Holistic rubrics ) หรือแยกประเมินเป็นรายประเด็นย่อย (Analytic rubrics) เช่น สาระสำคัญ“กระบวนการเขียนประกอบ ด้วยการเขียน การตรวจสอบ การปรับปรุงงานเขียน และการเผยแพร่งานเขียน” ซึ่งสาระสำคัญนี้ ต้องสอนตามกระบวนการเขียน ซึ่งสาระสำคัญเราไม่สามารถประเมินผลงานเขียนของนักเรียนโดยตรง แต่ต้องประเมินผลงานที่แสดงให้เห็นว่านักเรียนเข้าใจในกระบวนการเขียน เช่น

การเขียนหรืออธิบายสรุปขั้นตอนการเขียนงานที่มีประสิทธิภาพ การกำหนดระดับคุณภาพ หรือ Rubrics จากตัวอย่าง อาจจะประเมินแยกเป็นแต่ละขั้นตอน ว่าผู้เรียนเขียนอธิบายกระบวนการเขียนได้ครบถ้วน หรือมีรายละเอียดมากน้อยเพียงใด หรืออาจเขียนในภาพรวมของกระบวนการเขียนทั้งหมด คุณครูต้องศึกษาเพิ่มเติม

หลักการกำหนดจำนวนชิ้นงานหรือภาระงานในแต่ละหน่วยการเรียนรู้

ปุจฉา : หลักการกำหนดจำนวนชิ้นงานหรือภาระงานในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ จะดำเนินการอย่างไรให้นักเรียนบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้

วิสัชนา :

ชิ้นงาน ภาระงานในหน่วยการเรียนรู้ เป็นร่องรอยที่สะท้อนให้เห็นว่าผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายมากน้อยเพียงใด เป็นการประเมินเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ (Assessment for learning) คือการประเมินที่ให้ผลการมาตรฐานการเรียนรู้ ประเมินที่ได้ สามารถบอกได้ว่า จะต้องพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนไปในทิศทางใด ชิ้นงานภาระงานเป็นหลักฐานการเรียนรู้ รวบยอด (Cumulative evaluation) มีลักษณะการเก็บสะสมต่อเนื่องจนประมวลมาเป็นผลงานสุดท้ายเมื่อจบหน่วยการเรียนรู้ ใช้ในการสะท้อนว่า ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย เกิดความรู้ ที่ฝังแน่นหรือไม่ ฉะนั้นครูผู้สอน จะต้องตั้งคำถามว่าอะไรคือ หลักฐานการเรียนรู้ที่บ่งบอกว่า ผู้เรียนเกิดคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนด

แบบ ปพ.1 พ.2 ปพ.3 ซื้อมาแล้วไม่ประสงค์จะใช้หรือเกิดการสูญหาย

ปุจฉาแบบ ปพ.1 .2 ปพ.3 ซื้อมาแล้วไม่ประสงค์จะใช้หรือเกิดการสูญหาย หรือเกิดจากการเขียน ผิดพลาด สกปรก ชำรุดเสียหาย จะต้องทำอย่างไร

วิสัชนา :

1) ซื้อมาแล้วไม่ประสงค์จะใช้ต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป

2) ซื้อมาแล้วเกิดการสูญหาย ต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สำนักงานเขตพื้นที่ จะต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง แล้วเสนอผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่เพื่อลงนามในประกาศยกเลิกแบบพิมพ์ สถานศึกษาแจ้งประกาศยกเลิกถึงทุกกระทรวง ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ไม่ให้รับ ปพ.1 ดังกล่าว

3) ซื้อมาแล้ว เขียนผิดพลาด สกปรก ชำรุดเสียหายให้โรงเรียนดำเนินการดังนี้

      (1) ทำรายงานยกเลิก โดยระบุสาเหตุ เลขที่ และจำนวนแบบพิมพ์ที่เสียหายเสนอเขตพื้นที่
      (2) เขตพื้นที่แตงตั้งคณะกรรมการดำเนินการสอบสวน (กรณีแบบพิมพ์มีความเสียหายเพียงเล็กน้อยสามารถทำเครื่องหมายขีดฆ่า และเขียนข้อมูลที่ถูกต้อง โดยลงลายมือชื่อนายทะเบียนกำกับไว้ได้อาจไม่ต้องประกาศยกเลิก ทั้งนี้ขี้้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการสอบสวนหากคณะกรรมการเห็นสมควร ประกาศยกเลิกแบบพิมพ์ ให้เขตพื้นที่ทำรายงานขอยกเลิกแบบพิมพ ์ปพ.1 ฉบับที่เสียหายรายงาน ต่อผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่พร้อมแนบประกาศยกเลิกแบบพิมพ์ ให้ลงนาม
     (3) เมื่อผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ ลงนามประกาศยกเลิกแบบพิมพ์แล้ว ให้เขตพื้นที่แจ้งประกาศยกเลิกถึงกระทรวง ทุกกระทรวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตเพื่อแจ้งหน่วยงาน ในสังกัดไม่ให้รับพิจารณาระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ. 1) ที่ถกยกเลิกต่อไป

ระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1)

ปุชฉา : ระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) มีกี่แบบ

วิสัชนา :

3 แบบ คือ

1. ระเบียนแสดงผลการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษา (ปพ.1 : )

2. ระเบียนแสดงผลการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ปพ.1 : )


3. ระเบียนแสดงผลการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ปพ.1 : )

เอกสารหลักฐานการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สถานศึกษากำหนด

ปุชฉา : เอกสารหลักฐานการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่สถานศึกษากำหนด ได้แก่อะไรบ้าง


วิสัชนา :

เอกสารหลักฐานที่สถานศึกษากำหนด เป็นเอกสารที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกพัฒนาการ ผลการเรียนรู้ และข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับผู้เรียน เช่น แบบบันทึกผลการเรียนประจำรายวิชา แบบรายงานประจำตัวนักเรียน ระเบียนสะสมใบรับรองผลการเรียน และเอกสารอื่นๆ ตามวัตถุประสงค์ของการนำเอกสารไปใช้

     1. แบบบันทึกผลการเรียนประจำรายวิชา เป็นเอกสารที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้สอนใช้บันทึกข้อมูล การวัดและประเมินผลการเรียนตามแผนการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลการเรียน และใช้เป็นข้อมูล ในการพิจารณาตัดสินผลการเรียนแต่ละรายวิชา เอกสารนี้ควรจัดทำเพื่อบันทึกข้อมูลของผู้เรียนเป็นรายห้อง

     2. แบบรายงานประจำ ตัวนักเรียน เป็ นเอกสารที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกข้อมูลผลการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่างๆ ของผู้เรียนแต่ละคนตามเกณฑ์การตัดสินการผ่านระดับชั้นตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานรวมทั้งข้อมูลด้านอื่นๆ ของผู้เรียน ทั้งที่บ้านและโรงเรียน เป็นเอกสารรายบุคคลสำหรับสื่อสารให้ผู้ปกครองของผู้เรียนแต่ละคนได้รับทราบผลการเรียนและพัฒนาการด้านต่างๆ ของผู้เรียน และร่วมมือในการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

     3. ใบรับรองผลการเรียน เป็นเอกสารที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อรับรองสถานภาพความเป็นผู้เรียนในสถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่หรือรับรองผลการเรียน หรือวุฒิของผู้เรียนเป็นการชั่วคราวตามที่ผู้เรียนร้องขอ ทั้งกรณีที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนหรือเมื่อจบการศึกษาไปแล้ว แต่กำลังรอรับหลักฐานการศึกษา ระเบียนแสดงผลการเรียน เป็นต้น ใบรับรองผลการเรียนมีอายุการใช้งานชั่วคราว โดยปกติประมาณ 30 วัน ซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปใช้ เป็นหลักฐานแสดงคุณสมบัติของผู้เรียนในการสมัครเข้าศึกษาต่อ สมัครเข้าทำงาน หรือเมื่อมีกรณีอื่นใดที่ผู้เรียนแสดงคุณสมบัติเกี่ยวกับวุฒิความรู้ หรือสถานภาพการเป็นผู้เรียนของตน

      4. ระเบียนสะสม เป็นเอกสารที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้เรียนในด้านต่างๆ เป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่อง ตลอดช่วงระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 12 ปี ระเบียนสะสมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการแนะแนวทางการศึกษาและการประกอบอาชีพของผู้เรียน การพัฒนาปรับปรุงบุคลิกภาพ การปรับตัวของผู้เรียน และผลการเรียน ตลอดจนรายงานกระบวน การพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนระหว่างสถานศึกษากับบ้าน และใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เรียนตามความเหมาะสม

เอกสารหลักฐานการศึกษา ที่กระทรวงศึกษากำหนด

ปุชฉา : เอกสารหลักฐานการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่กระทรวงศึกษากำหนด ได้แก่อะไรบ้าง

วิสัชนา :

เอกสารหลักฐานที่กระทรวงศึกษากำหนด เป็นเอกสารที่กระทรวงศึกษาธิการควบคุมและบังคับแบบ เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับการตรวจสอบ ยืนยัน และรับรองผลการเรียนของผู้เรียน สถานศึกษาต้องใช้แบบพิมพ์ของกระทรวงศึกษาธิการและดำเนินการจัดทำตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ได้แก่

1. ระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) เป็นเอกสารสำหรับบันทึกข้อมูลผลการเรียนของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แก่ ผลการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาจะต้องจัดทำ และออกเอกสารนี้ให้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เมื่อผู้เรียนจบการศึกษาแต่ละระดับ หรือเมื่อผู้เรียนออกจากสถานศึกษาในทุกกรณี เพื่อใช้แสดงผลการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

2. ประกาศนียบัตร (ปพ.2) เป็นเอกสารแสดงวุฒิการศึกษาที่มอบให้แก่ผู้จบการศึกษาภาคบังคับและผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อรับรองศักดิ ์และสิทธิ ์ ของผู้สำเร็จการศึกษาตามวุฒิแห่งประกาศนียบัตรนั้น

3. แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (ปพ.3) เป็นเอกสารสำหรับอนุมัติการจบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของผู้เรียนในแต่ละรุ่นการศึกษา โดยบันทึกรายชื่อและข้อมูลทางการศึกษาของผู้จบการศึกษา ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6) ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) และผู้จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) ใช้เป็นเอกสารสำหรับตัดสินและอนุมัติผลการเรียนให้ผู้เรียนเป็นผู้สำเร็จการศึกษา และใช้ในการตรวจสอบยืนยัน และรับรองความสำเร็จและวุฒิการศึกษาของผู้สำเร็จการศึกษาแต่ละคนตลอดไป

การประเมินความสำเร็จหลังเรียน

ปุชฉา : การประเมินความสำเร็จหลังเรียน มีลักษณะอย่างไร

วิสัชนา :

1. เลือกวิธีและเครื่องมือการประเมนให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ เช่น การประเมินด้วยการสังเกต การซักถาม การตรวจแบบฝึกหัด การประเมินตามสภาพจริง การประเมินการปฏิบัติ เป็นต้น

2. สร้างเครื่อง มือวัดและประเมินผลการเรียนให้สอดคล้องกับวิธีการประเมินที่กำหนด

3. ดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการจัดกจกรรมการเรียนรู้

4. นำผลไปพัฒนาผู้เรียน
การประเมินความสำเร็จหลังเรียน เป็นการประเมินเพื่อมุ่งตรวจสอบความสำเร็จของผู้เรียนใน 2 ลักษณะ คือ
        1. การประเมินเมื่อจบการเรียนรู้ เป็นการประเมินผู้เรียนในหน่วยการเรียนรู้ที่ได้เรียนจบแล้ว เพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ พัฒนาการของผู้เรียน เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับผลการประเมินวิเคราะห์ผู้เรียน ทำให้สามารถประเมินศักยภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ ของผู้เรียน ข้อมูลที่ได้จากการประเมินความสำเร็จภายหลังการเรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขวิธีการเรียนของผู้เรียน การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน หรือซ่อมเสริมผู้เรียนให้บรรลุตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ การประเมินหลังเรียนนี้ จะสอดคล้องกับการประเมินวิเคราะห ์ผู้เรียนก่อนการเรียนการสอน หากใช้วิธีการและเครื่องมือ ประเมินชุดเดียวหรือคู่ขนานกัน เพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียนได้ชัดเจน

       2. การประเมินปลายปี/ปลายภาค เป็นการประเมินผลเพื่อตรวจสอบผลสัมฤทธิ ์ของผู้เรียนในการเรียนรู้ ตามตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ และใช้เป็นข้อมูลสำหรับปรับปรุงแก้ไข ซ่อมเสริมผู้เรียนที่ไม่ผ่านการประเมินตัวชี้วัด การประเมินปลายปี/ปลายภาคสามารถใช้วิธีการและเครื่องมือประเมินได้อย่างหลากหลายและเลือกใช้ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด อาจใช้แบบทดสอบชนิดต่างๆ หรือประเมิน โดยใช้ภาระงานหรือกิจกรรม โดยมีขั้นตอนหรือวิธีการ ดังนี้
                 1) เลือกวิธีการและเครื่องมือที่จะใช้ในการวัดและประเมินผล
                 2) สร้างเครื่องมือประเมิน
                 3) ดำเนินการประเมิน
                 4) นำผลการประเมินไปใช้ตัดสินผลการเรียน ส่งผลการเรียนซ่อมเสริม แก้ไขผลการเรียน

ผลการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย

ปุชฉา : ผลการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย มีลักษณะอย่างไร

วิสัชนา :

ผลการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัย หมายถึง ข้อมูลสารสนเทศ หลักฐานต่างๆ ที่แสดงถึงความสามารถด้านสติปัญญา 6 ด้าน คือ ความจำ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ การประเมินค่า และการคิดสร้างสรรค์ โดยพฤติกรรมที่สะท้อนว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัย ได้แก่ การบอกเล่า อธิบาย หรือเขียนแสดงความคิดรวบยอด โดยการตอบปุชฉา เขียนแผนภูมิ แผนภาพ นำเสนอแนวคิดขั้นตอนในการแก้ปัญหา การจัดการ การออกแบบประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์ชิ้นงาน

การประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

ปุชฉา : ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนอย่างไร และมีการกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนในการวัดประเมินหรือไม่

วิสัชนา :

การประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ไม่มีการกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินสมรรถนะสำคัญ แต่สมรรถนะสำคัญจะเกิดขึ้นเมื่อผ่านการจัดการเรียนรู้ ของครูผู้สอน ซึ่งครูผู้สอนสามารถประเมินตามรายละเอียดของแต่ละสมรรถนะได้ โดยออกแบบวัดและประเมินเอง อาจจะเป็นในรูปแบบของแบบสังเกตหรือแบบทดสอบที่จะวัดสมรรถนะของผู้เรียนแต่ละด้าน โดยการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ควรใช้วิธีการประเมินที่เน้นการปฏิบัติ และบูรณาการอยู่ในกระบวน การเรียนการสอน

หลักฐานที่แสดงถึงผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สัมพันธ์กันโดยตรงกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัด

ปุชฉา : ร่องรอย/หลักฐานใดบ้างที่แสดงถึงผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สัมพันธ์กันโดยตรงกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัด

วิสัชนา :

1. ผลผลิต ได้แก่ รายงานที่เป็นรูปเล่ม สิ่งประดิษฐ์ แบบจำลอง การทดลอง แผนภูมิ แฟ้มสะสมงาน ผังมโนทัศน์ การเขียนอนุทิน การเขียนความเรียง โครงงานที่ผู้เรียนสร้างเอง เป็นต้น

2. ผลการปฏิบัติ ได้แก่ การรายงานด้วยวาจา การสาธิต การทดลอง การปฏิบัติการภาคสนาม การอภิปราย การจัดนิทรรศการ การสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนของครู รายงานการประเมินตนเองของผู้เรียน เป็นต้น

การประเมินตนเองของผู้เรียน (Student Self-Assessment)

ปุชฉา : การประเมินตนเองของผู้เรียน (Student Self-Assessment) มีประโยชน์อย่างไรสำหรับผู้เรียน

วิสัชนา :


การประเมินตนเองของผู้เรียน (Student Self-Assessment) จะทำให้ผู้เรียนได้คิดใคร่ครวญว่าได้เรียนรู้อะไร เรียนรู้อย่างไร และผลงานที่ทำนั้นดีแล้วหรือยัง การประเมินตนเองจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง การประเมินตนเองของผู้เรียนจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง หากผู้เรียนทราบสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขและตั้งเป้าหมาย การปรับปรุงแก้ไข แล้วฝึกฝน พัฒนาโดยการดูแลสนับสนุนจากผู้สอนและความร่วมมือของครอบครัว

Friday, 2 August 2013

การประเมินความสำเร็จหลังเรียน

ปุชฉา : การประเมินความสำเร็จหลังเรียน มีลักษณะอย่างไร

วิสัชนา :

1. เลือกวิธีและเครื่องมือการประเมนให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ เช่น การประเมินด้วยการสังเกต การซักถาม การตรวจแบบฝึกหัด การประเมินตามสภาพจริง การประเมินการปฏิบัติ เป็นต้น

2. สร้างเครื่อง มือวัดและประเมินผลการเรียนให้สอดคล้องกับวิธีการประเมินที่กำหนด

3. ดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการจัดกจกรรมการเรียนรู้

4. นำผลไปพัฒนาผู้เรียน

การประเมินความสำเร็จหลังเรียน เป็นการประเมินเพื่อมุ่งตรวจสอบความสำเร็จของผู้เรียนใน 2 ลักษณะ คือ
        1. การประเมินเมื่อจบการเรียนรู้ เป็นการประเมินผู้เรียนในหน่วยการเรียนรู้ที่ได้เรียนจบแล้ว เพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ พัฒนาการของผู้เรียน เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับผลการประเมินวิเคราะห์ผู้เรียน ทำให้สามารถประเมินศักยภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ ของผู้เรียน ข้อมูลที่ได้จากการประเมินความสำเร็จภายหลังการเรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขวิธีการเรียนของผู้เรียน การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน หรือซ่อมเสริมผู้เรียนให้บรรลุตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ การประเมินหลังเรียนนี้ จะสอดคล้องกับการประเมินวิเคราะห ์ผู้เรียนก่อนการเรียนการสอน หากใช้วิธีการและเครื่องมือ ประเมินชุดเดียวหรือคู่ขนานกัน เพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียนได้ชัดเจน

       2. การประเมินปลายปี/ปลายภาค เป็นการประเมินผลเพื่อตรวจสอบผลสัมฤทธิ ์ของผู้เรียนในการเรียนรู้ ตามตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ และใช้เป็นข้อมูลสำหรับปรับปรุงแก้ไข ซ่อมเสริมผู้เรียนที่ไม่ผ่านการประเมินตัวชี้วัด การประเมินปลายปี/ปลายภาคสามารถใช้วิธีการและเครื่องมือประเมินได้อย่างหลากหลายและเลือกใช้ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด อาจใช้แบบทดสอบชนิดต่างๆ หรือประเมิน โดยใช้ภาระงานหรือกิจกรรม โดยมีขั้นตอนหรือวิธีการ ดังนี้

                 1) เลือกวิธีการและเครื่องมือที่จะใช้ในการวัดและประเมินผล
                 2) สร้างเครื่องมือประเมิน
                 3) ดำเนินการประเมิน
                 4) นำผลการประเมินไปใช้ตัดสินผลการเรียน ส่งผลการเรียนซ่อมเสริม แก้ไขผลการเรียน

ผลการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย

ปุชฉา : ผลการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย มีลักษณะอย่างไร

วิสัชนา :

ผลการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัย หมายถึง ข้อมูลสารสนเทศ หลักฐานต่างๆ ที่แสดงถึงความสามารถด้านสติปัญญา 6 ด้าน คือ ความจำ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ การประเมินค่า และการคิดสร้างสรรค์ โดยพฤติกรรมที่สะท้อนว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้านพุทธพิสัย ได้แก่ การบอกเล่า อธิบาย หรือเขียนแสดงความคิดรวบยอด โดยการตอบปุชฉา เขียนแผนภูมิ แผนภาพ นำเสนอแนวคิดขั้นตอนในการแก้ปัญหา การจัดการ การออกแบบประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์ชิ้นงาน

การประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

ปุชฉา : ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนอย่างไร และมีการกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนในการวัดประเมินหรือไม่

วิสัชนา :

การประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ไม่มีการกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินสมรรถนะสำคัญ แต่สมรรถนะสำคัญจะเกิดขึ้นเมื่อผ่านการจัดการเรียนรู้ ของครูผู้สอน ซึ่งครูผู้สอนสามารถประเมินตามรายละเอียดของแต่ละสมรรถนะได้ โดยออกแบบวัดและประเมินเอง อาจจะเป็นในรูปแบบของแบบสังเกตหรือแบบทดสอบที่จะวัดสมรรถนะของผู้เรียนแต่ละด้าน โดยการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ควรใช้วิธีการประเมินที่เน้นการปฏิบัติ และบูรณาการอยู่ในกระบวน การเรียนการสอน

หลักฐานที่แสดงถึงผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

ปุชฉา : ร่องรอย/หลักฐานใดบ้างที่แสดงถึงผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สัมพันธ์กันโดยตรงกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัด

วิสัชนา :

1. ผลผลิต ได้แก่ รายงานที่เป็นรูปเล่ม สิ่งประดิษฐ์ แบบจำลอง การทดลอง แผนภูมิ แฟ้มสะสมงาน ผังมโนทัศน์ การเขียนอนุทิน การเขียนความเรียง โครงงานที่ผู้เรียนสร้างเอง เป็นต้น

2. ผลการปฏิบัติ ได้แก่ การรายงานด้วยวาจา การสาธิต การทดลอง การปฏิบัติการภาคสนาม การอภิปราย การจัดนิทรรศการ การสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนของครู รายงานการประเมินตนเองของผู้เรียน เป็นต้น

การประเมินตนเองของผู้เรียน (Student Self-Assessment)

ปุชฉา : การประเมินตนเองของผู้เรียน (Student Self-Assessment) มีประโยชน์อย่างไรสำหรับผู้เรียน

วิสัชนา :

การประเมินตนเองของผู้เรียน (Student Self-Assessment) จะทำให้ผู้เรียนได้คิดใคร่ครวญว่าได้เรียนรู้อะไร เรียนรู้อย่างไร และผลงานที่ทำนั้นดีแล้วหรือยัง การประเมินตนเองจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง การประเมินตนเองของผู้เรียนจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง หากผู้เรียนทราบสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขและตั้งเป้าหมาย การปรับปรุงแก้ไข แล้วฝึกฝน พัฒนาโดยการดูแลสนับสนุนจากผู้สอนและความร่วมมือของครอบครัว

การประเมินการปฏิบัติ (Performance Assessment)

ปุชฉา : การประเมินการปฏิบัติ (Performance Assessment) มีลักษณะอย่างไร

วิสัชนา :

การประเมินการปฏิบัติ (Performance Assessment) เป็นวิธีการประเมินงานหรือกิจกรรมที่ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติงาน เพื่อให้ทราบถึงผลการพัฒนาผู้เรียน การประเมินลักษณะนี้ ผู้สอนต้องเตรียมสิ่งสำคัญ 2 ประการ ได้แก่

1. ภาระงาน (Tasks) หรือกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนปฏิบัติเช่น การทำโครงการ/โครงงาน การสำรวจ การนำเสนอ การสร้างแบบจำลอง การท่องปากเปล่า การสาธิต การทดลองวิทยาศาสตร์ การจัดนิทรรศการ การแสดงละคร เป็นต้น

2. เกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubrics) การประเมินการปฏิบัติ อาจจะปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะงานหรือประเภทกิจกรรม ดังนี้

       1. ภาระงานหรือกิจกรรมที่เน้นขั้นตอนการปฏิบัติและผลงาน เช่น การทดลองวิทยาศาสตร์ การจัดนิทรรศการ การ แสดงละคร แสดงการเคลื่อนไหว การประกอบอาหาร การประดิษฐ์ การสำรวจ การนำเสนอ การจัดทำแบบจำลอง เป็นต้น ผู้สอนจะต้องสังเกตและประเมินวิธีการทำงานที่เป็นขั้นตอน และผลงานของผู้เรียน

       2. ภาระงานหรือกิจกรรมที่มุ่งเน้นการสร้างลักษณะนิสัย เช่น การรักษาความสะอาด การรักษาสาธารณะสมบัติ /สิ่งแวดล้อม กิจกรรมหน้าเสาธง เป็นต้น จะประเมินด้วยวิธีการสังเกต จดบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับผู้เรียน

       3. ภาระงานที่มีลักษณะเป็นโครงการ/โครงงาน เป็นกิจกรรมที่เน้นขั้นตอนการปฏิบัติและผลงานที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ จึงควรมีการประเมินเป็นระยะๆ เช่น ระยะก่อนดำเนินโครงการ/โครงงาน โดยประเมิน ความพร้อมการเตรียมการและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงานระยะระหว่าง ดำเนินโคงการ / โครงงานจะประเมินการปฏิบัติจริงตามแผน วิธีการและขั้นตอนที่กำหนดไว้ และการปรับปรุงระหว่างการปฏิบัติ สำหรับระยะสิ้นสุดการดำเนินโครงการ/โครงงาน โดยการประเมินผลงาน ผลกระทบและวิธีการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ/โครงงาน

      4. ภาระงานที่เน้นผลผลิตมากกว่ากระบวนการขั้นตอนการทำงาน เช่น การจัดทำแผนผัง แผนที่ แผนภูมิ กราฟ ตาราง ภาพ แผนผังความคิด เป็นต้น อาจประเมินเฉพาะคุณภาพของผลงานก็ได้ ในการประเมินการปฏิบัตงาน ผู้สอนต้องสร้างเครื่องมือ เพื่อใช้ประกอบการประเมิน เช่น มาตรประมาณค่า แบบบันทึกพฤติกรรม แบบตรวจรายงาน แบบบันทึกผลการปฏิบัติ เป็นต้น

การวัดและประเมินแบบอิงกลุ่ม (Norm-Referenced Assessment) และแบบอิงเกณฑ์ (Criterion-Referenced Assessment)

ปุชฉา : การวัดและประเมินแบบอิงกลุ่ม (Norm-Referenced Assessment) และแบบอิงเกณฑ์ (Criterion-Referenced Assessment) มีลักษณะอย่างไร

วิสัชนา :

การวัดและประเมินแบบอิงกลุ่ม (Norm-Referenced Assessment) เป็นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อนำเสนอผลการตัดสินความสามารถหรือผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดยเปรียบเทียบกันเองภายในกลุ่มหรือในชั้นเรียน

การวัดและประเมินแบบอิงเกณฑ์ (Criterion-Referenced Assessment) เป็นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อนำเสนอผลการตัดสินความสามารถหรือผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น

การประเมินเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment)

ปุชฉา : การประเมินเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment) หมายความว่าอย่างไร

วิสัชนา :

การประเมินเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ (Summative Assessment) มักเกิดขึ้นเมื่อจบหน่วยการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามตัวชี้วัด และยังเป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบกับการประเมินก่อนเรียน ทำให้ทราบพัฒนาการของผู้เรียน การประเมินสรุปผลการเรียนรู้ยังเป็นการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนตอนปลายปี/ ปลายภาคอีกด้วย การประเมินสรุปผลการเรียนรู้ใช้วิธีการและเครื่องมือประเมินได้อย่างหลากหลาย โดยปกติมักดำเนินการอย่างเป็นทางการ

การประเมินเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment)

ปุชฉา : การประเมินเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) หมายความว่าอย่างไร

วิสัชนา :

การประเมินเพื่อการพัฒนา (Formative Assessment) เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่ดำเนินการ อย่างต่อเนื่องตลอดการเรียนการสอน โดยมิใช่ใช้แต่การทดสอบระหว่างเรียนเป็นระยะๆ อย่างเดียว แต่เป็นการที่ครูเก็บข้อมูลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไม่เป็นทางการด้วย ขณะที่ให้ผู้เรียนทำภาระงานตามที่กำหนด ครูสังเกต ซักถาม จดบันทึก แล้ววิเคราะห์ข้อมูลว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ จะต้องให้ผู้เรียนปรับปรุงอะไร หรือผู้สอนปรับปรุงอะไร เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด การประเมินระหว่างเรียนทำ ได้หลายรูปแบบ เช่น การให้ข้อแนะนำ ข้อสังเกตในการนำเสนอผลงาน การพูดคุยระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล การสัมภาษณ์ ตลอดจนการวิเคราะห์ผลการสอบ เป็นต้น

การจัดการเรียนการสอน การประเมินเพื่อวินิจฉัย (Diagnostic Assessment)

ปุชฉา : ในการจัดการเรียนการสอน การประเมินเพื่อวินิจฉัย (Diagnostic Assessment) หมายความว่าอย่างไร

วิสัชนา :

การประเมินเพื่อวินิจฉัย (Diagnostic Assessment)เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อค้นหาว่าผู้เรียนเรียนรู้อะไรมาบ้าง เกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียน สิ่งที่รู้มาก่อนนี้ถูกต้องหรือไม่ จึงเป็นการใช้ในลักษณะประเมินก่อนเรียน นอกจากนี้ยังใช้ เพื่อหาสาเหตุของปัญหาหรืออุปสรรคต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคลที่มักจะเป็นเฉพาะเรื่อง เช่น ปัญหาการออกเสียงไม่ชัด แล้วหาวิธีปรับปรุงเพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาและเรียนรู้ขั้นต่อไป วิธีการประเมินใช้ได้ ทั้งการสังเกต การพูดคุยสอบถาม หรือการใช้แบบทดสอบก็ได้

Wednesday, 31 July 2013

การจัดการเรียนการสอน การประเมินเพื่อจัดวางตำแหน่ง (Placement Assessment)

ปุชฉา : ในการจัดการเรียนการสอน การประเมินเพื่อจัดวางตำแหน่ง (Placement Assessment) หมายความว่าอย่างไร

วิสัชนา :

การประเมินเพื่อจัดวางต่ำแหน่ง (Placement Assessment) เป็นการประเมินก่อนเริ่มเรียน เพื่อต้องการข้อมูล ที่แสดงความพร้อม ความสนใจ ระดับความรู้ และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียน เพื่อให้ผู้สอนนำไปใช้กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ วางแผน และออกแบบกระบวน การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนทั้งรายบุคคลรายกลุ่ม และรายชั้นเรียน

การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน (Classroom Assessment)

ปุชฉา : การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน (Classroom Assessment) มีความหมายว่าอย่างไร

วิสัชนา :

การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน (Classroom Assessment) หมายถึงกระบวน การเก็บรวบรวม วิเคราะห์ตีความ บันทึกข้อมูลที่ได้จากการวัดและประเมิน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาของการจัดการเรียนการสอน นับตั้งแต่ก่อนการเรียน การสอน ระหว่างการเรียนการสอน และหลังการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน มีความสอดคล้อง และเหมาะสม กับพฤติกรรมที่ต้องการวัด นำผลที่ได้มาตีค่าเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ที่กำหนดในตัวชี้วัดของมาตรฐานสาระการเรียนรู้ของหลักสูตร สำหรับข้อมูลที่ได้นี้นำไปใช้ในการให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับความก้าวหน้า จุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุงให้แก่ผู้เรียนการตัดสินผลการเรียนรู้รวบยอดในเรื่องหรือหน่วยการเรียนรู้หรือในรายวิชาและการวางแผนออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครู

การวัด (Measurement) การประเมิน (Assessment) และการประเมินค่า/การตัดสิน (Evaluation)

ปุชฉา : การวัด (Measurement) การประเมิน (Assessment) และการประเมินค่า/การตัดสิน (Evaluation) ในความหมายที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนมีความหมายอย่างไร

วิสัชนา :

การวัด (Measurement) หมายถึง การกำหนดตัวเลขให้กับวัตถุ สิ่งของ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์
หรือพฤติกรรมต่างๆ ของผู้เรียน การจะได้มาซึ่งตัวเลขนั้นอาจต้องใช้เครื่องมือวัดเพื่อให้ได้ตัวเลขที่สามารถแทนคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการวัด เช่น ไม้บรรทัดวัดความกว้างของหนังสือได้ 3.5 นิ้ว ใช้เครื่องชั่งวัดน้ำหนักของเนื้อหมูได้ 0.5 กิโลกรัม ใช้แบบทดสอบวัดความรู้ในวิชาภาษาไทยของเด็กชายแดงได้ 42 คะแนน เป็นต้น

การประเมิน (Assessment) หมายถึง กระบวนการเก็บข้อมูล ตีความ บันทึก และใช้ข้อมูลเกี่ยวกับของผู้เรียนที่ทำในภาระงาน/ชิ้นงาน ว่าผู้เรียนรู้อะไรสามารถทำอะไรได้ และจะทำต่อไปอย่างไรด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย


การประเมินค่า/การตัดสิน (Evaluation) หมายถึงการนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการวัดหลายๆ อย่างมาเป็นข้อมูลในการตัดสินผลการเรียน โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ (Criteria) ที่สถานศึกษากำหนด เพื่อประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าผู้เรียนมีความเก่งหรืออ่อนเพียงใดบรรลุเป้าหมายที่ต้องการมากน้อยเพียงใด

เกณฑ์การจบแต่ละระดับการศึกษา

ปุชฉา : เกณฑ์การจบแต่ละระดับการศึกษา ในส่วนของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องมีผลการประเมินระดับ ผ่านในกิจกรรมใดบ้าง

วิสัชนา :

ผู้เรียนจะต้องผ่านกิจกรรม 3 กิจกรรม ดังนี้

1. กิจกรรมแนะแนว

2. กิจกรรมนักเรียน ได้แก่
      1) กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหาร
      2) กิจกรรมชุมนุม


3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์

การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายกิจกรรม

ปุชฉา : การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายกิจกรรม มีแนวทางการประเมินอย่างไร

วิสัชนา :

1. ตรวจสอบเวลาเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียนให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

2. ประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน/ชิ้นงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดด้วยวิธีการที่หลากหลาย และใช้การประเมินตามสภาพจริง

3. ผู้เรียนที่มีเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน/ชิ้นงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด เป็นผู้ผ่านการประเมินรายกิจกรรมและนำผลการประเมินไปบันทึกในระเบียนแสดงผลการเรียน

4. ผู้เรียนที่มีผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์เวลาการเข้าร่วมกิจกรรม หรือเกณฑ์การปฏิบัติกิจกรรรม และผลงาน/ชิ้นงานของผู้เรียนหรือทั้งสองเกณฑ์ ถือว่าไม่ผ่านการประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผู้สอนต้องดำเนินการซ่อมเสริมและประเมินจนผ่าน ทั้งนี้ควรดำเนินการให้เสร็จสิ้นในปีการศึกษานั้น ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัย ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา ทั้งนี้การทำกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ให้ผู้เรียนรายงานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรมและมีผู้รับรองผลการเข้าร่วมกิจกรรมด้วย

การจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์

ปุชฉา : การจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์สามารถนำไปสอดแทรกหรือบูรณาการ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้หรือไม่

วิสัชนา :

ได้ นอกจากการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ จะสามารถนำไปสอดแทรกหรือบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้แล้ว ยังสามารถสอดแทรกในกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์และนักศึกษาวิชาทหารได้ตามความเหมาะสม

การสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปุชฉา : การสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย หากผู้เรียนมีผลการประเมินในแต่ละชั้นปีแตกต่างกัน จะมีเกณฑ์การประเมินอย่างไร ว่าจะให้ระดับใด

วิสัชนา :

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้พิจารณาผลการตัดสินในแต่ละชั้นปี ถ้าผลการประเมินในปีสุดท้ายได้ระดับใดให้ถือว่าผู้เรียนได้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับนั้น เช่น เด็กชายดีมีคุณธรรม ได้รับการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในระดับดีเยี่ยม การสรุปผล ถือว่าได้ระดับดีเยี่ยมแต่ถ้าผลการประเมินในปีก่อนๆ ได้ระดับดี หรือดีเยี่ยม แต่ปีสุดท้ายของระดับการศึกษาได้ระดับผ่าน หรือไม่ผ่านให้คณะกรรมการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบและเป็นไปตามสภาพจริงโดยนำข้อมูลจากประวัติที่ผ่านมาประกอบการพิจารณา