Wednesday, 31 July 2013

การจัดการเรียนการสอน การประเมินเพื่อจัดวางตำแหน่ง (Placement Assessment)

ปุชฉา : ในการจัดการเรียนการสอน การประเมินเพื่อจัดวางตำแหน่ง (Placement Assessment) หมายความว่าอย่างไร

วิสัชนา :

การประเมินเพื่อจัดวางต่ำแหน่ง (Placement Assessment) เป็นการประเมินก่อนเริ่มเรียน เพื่อต้องการข้อมูล ที่แสดงความพร้อม ความสนใจ ระดับความรู้ และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียน เพื่อให้ผู้สอนนำไปใช้กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ วางแผน และออกแบบกระบวน การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนทั้งรายบุคคลรายกลุ่ม และรายชั้นเรียน

การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน (Classroom Assessment)

ปุชฉา : การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน (Classroom Assessment) มีความหมายว่าอย่างไร

วิสัชนา :

การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน (Classroom Assessment) หมายถึงกระบวน การเก็บรวบรวม วิเคราะห์ตีความ บันทึกข้อมูลที่ได้จากการวัดและประเมิน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาของการจัดการเรียนการสอน นับตั้งแต่ก่อนการเรียน การสอน ระหว่างการเรียนการสอน และหลังการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน มีความสอดคล้อง และเหมาะสม กับพฤติกรรมที่ต้องการวัด นำผลที่ได้มาตีค่าเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ที่กำหนดในตัวชี้วัดของมาตรฐานสาระการเรียนรู้ของหลักสูตร สำหรับข้อมูลที่ได้นี้นำไปใช้ในการให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับความก้าวหน้า จุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุงให้แก่ผู้เรียนการตัดสินผลการเรียนรู้รวบยอดในเรื่องหรือหน่วยการเรียนรู้หรือในรายวิชาและการวางแผนออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครู

การวัด (Measurement) การประเมิน (Assessment) และการประเมินค่า/การตัดสิน (Evaluation)

ปุชฉา : การวัด (Measurement) การประเมิน (Assessment) และการประเมินค่า/การตัดสิน (Evaluation) ในความหมายที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนมีความหมายอย่างไร

วิสัชนา :

การวัด (Measurement) หมายถึง การกำหนดตัวเลขให้กับวัตถุ สิ่งของ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์
หรือพฤติกรรมต่างๆ ของผู้เรียน การจะได้มาซึ่งตัวเลขนั้นอาจต้องใช้เครื่องมือวัดเพื่อให้ได้ตัวเลขที่สามารถแทนคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการวัด เช่น ไม้บรรทัดวัดความกว้างของหนังสือได้ 3.5 นิ้ว ใช้เครื่องชั่งวัดน้ำหนักของเนื้อหมูได้ 0.5 กิโลกรัม ใช้แบบทดสอบวัดความรู้ในวิชาภาษาไทยของเด็กชายแดงได้ 42 คะแนน เป็นต้น

การประเมิน (Assessment) หมายถึง กระบวนการเก็บข้อมูล ตีความ บันทึก และใช้ข้อมูลเกี่ยวกับของผู้เรียนที่ทำในภาระงาน/ชิ้นงาน ว่าผู้เรียนรู้อะไรสามารถทำอะไรได้ และจะทำต่อไปอย่างไรด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย


การประเมินค่า/การตัดสิน (Evaluation) หมายถึงการนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการวัดหลายๆ อย่างมาเป็นข้อมูลในการตัดสินผลการเรียน โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ (Criteria) ที่สถานศึกษากำหนด เพื่อประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าผู้เรียนมีความเก่งหรืออ่อนเพียงใดบรรลุเป้าหมายที่ต้องการมากน้อยเพียงใด

เกณฑ์การจบแต่ละระดับการศึกษา

ปุชฉา : เกณฑ์การจบแต่ละระดับการศึกษา ในส่วนของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องมีผลการประเมินระดับ ผ่านในกิจกรรมใดบ้าง

วิสัชนา :

ผู้เรียนจะต้องผ่านกิจกรรม 3 กิจกรรม ดังนี้

1. กิจกรรมแนะแนว

2. กิจกรรมนักเรียน ได้แก่
      1) กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหาร
      2) กิจกรรมชุมนุม


3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์

การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายกิจกรรม

ปุชฉา : การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายกิจกรรม มีแนวทางการประเมินอย่างไร

วิสัชนา :

1. ตรวจสอบเวลาเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียนให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

2. ประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน/ชิ้นงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดด้วยวิธีการที่หลากหลาย และใช้การประเมินตามสภาพจริง

3. ผู้เรียนที่มีเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงาน/ชิ้นงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด เป็นผู้ผ่านการประเมินรายกิจกรรมและนำผลการประเมินไปบันทึกในระเบียนแสดงผลการเรียน

4. ผู้เรียนที่มีผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์เวลาการเข้าร่วมกิจกรรม หรือเกณฑ์การปฏิบัติกิจกรรรม และผลงาน/ชิ้นงานของผู้เรียนหรือทั้งสองเกณฑ์ ถือว่าไม่ผ่านการประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผู้สอนต้องดำเนินการซ่อมเสริมและประเมินจนผ่าน ทั้งนี้ควรดำเนินการให้เสร็จสิ้นในปีการศึกษานั้น ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัย ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา ทั้งนี้การทำกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ให้ผู้เรียนรายงานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรมและมีผู้รับรองผลการเข้าร่วมกิจกรรมด้วย

การจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์

ปุชฉา : การจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์สามารถนำไปสอดแทรกหรือบูรณาการ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้หรือไม่

วิสัชนา :

ได้ นอกจากการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ จะสามารถนำไปสอดแทรกหรือบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้แล้ว ยังสามารถสอดแทรกในกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์และนักศึกษาวิชาทหารได้ตามความเหมาะสม

การสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปุชฉา : การสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย หากผู้เรียนมีผลการประเมินในแต่ละชั้นปีแตกต่างกัน จะมีเกณฑ์การประเมินอย่างไร ว่าจะให้ระดับใด

วิสัชนา :

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้พิจารณาผลการตัดสินในแต่ละชั้นปี ถ้าผลการประเมินในปีสุดท้ายได้ระดับใดให้ถือว่าผู้เรียนได้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับนั้น เช่น เด็กชายดีมีคุณธรรม ได้รับการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในระดับดีเยี่ยม การสรุปผล ถือว่าได้ระดับดีเยี่ยมแต่ถ้าผลการประเมินในปีก่อนๆ ได้ระดับดี หรือดีเยี่ยม แต่ปีสุดท้ายของระดับการศึกษาได้ระดับผ่าน หรือไม่ผ่านให้คณะกรรมการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบและเป็นไปตามสภาพจริงโดยนำข้อมูลจากประวัติที่ผ่านมาประกอบการพิจารณา

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปุชฉา : การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ควรใช้แบบวัดสถานการณ์ เพราะผลที่ได้จะน่าเชื่อถือที่สุด

วิสัชนา :

ไม่ใช่ เครื่องมือวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์สามารถใช้ได้อย่างหลากหลาย อาทิ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตรประมาณค่า แบบวัดสถานการณ์ แบบบันทึกพฤติกรรม แบบรายงานตนเอง เป็นต้น ทั้งนี้ครูผู้สอนควรใช้เครื่องมือ และวิธีการตลอดจนแหล่งข้อมูล และผู้ประเมินที่หลากหลาย เพื่อให้ข้อมูลที่ได้น่าเชื่อถือ และเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับพฤติกรรมบ่งชี้

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ

ปุชฉา :
1) การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ครูประจำวิชาสามารถนำบางข้อที่ขี้นอยู่กับบริบทของหน่วยการเรียนรู้มาวัดได้ ไม่จำเป็นต้องครบ 8 ประการใช่หรือไม่
2) ผู้ที่สามารถวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ น่าจะเป็นครูประจำชั้นมากกว่าครูประจำวิชา (ในกรณีที่ครูประจำวิชาไม่ใช่ครูประจำชั้น) ได้หรือไม่
3) หากเป็นเช่นข้อ 2 สงสัยว่าผู้เป็นครูสอนแต่ละรายวิชาจำเป็นต้องทำทุกวิชาหรือไม่

วิสัชนา :

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทั้ง 8 คุณลักษณะ อาจดำเนินการตามแนวทางดังนี้

1. แต่งตั้งคณะกรรมการการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา เพื่อ
       1) กำหนดแนวทางในการพัฒนา แนวทางการประเมิน เกณฑ์การประเมิน และแนวทางการปรับปรุง แก้ไข ปรับพฤติกรรม
       2) พิจารณาตัดสินผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รายปี (ระดับประถมศึกษา) รายภาค (ระดับมัธยมศึกษา) และการจบการศึกษาแต่ละระดับ
       3) จัดระบบการปรับปรุงแก้ไข หรือปรับพฤติกรรมด้วยวิธีการที่เหมาะสม และส่งต่อข้อมูลของผู้เรียน เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

2. พิจารณานิยามหรือความหมายของแต่ละคุณลักษณะ พร้อมทั้งกำหนดตัวชี้วัดหรือพฤติกรรมบ่งชี้ หรือพฤติกรรมที่แสดงออกของแต่ละคุณลักษณะ และหากสถานศึกษาได้กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติม สถานศึกษาต้องจัดทำนิยาม

3. กำหนดเกณฑ์ และแนวทางการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้สอดคล้องกับบริบทและจุดเน้นของสถานศึกษา กำหนดระดับคุณภาพ หรือเกณฑ์ในการประเมินตามที่หลักสูตรแกนกลาง

4. แจ้งให้ครูผู้สอน ครูที่ปรึกษา ครูประจำชั้น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ประเมินและส่งผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายทะเบียนวัดผล กรณีที่นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้ผู้ที่รับผิดชอบดำเนินการปรับปรุงพัฒนา และประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

5. ฝ่ายทะเบียนและวัดผลประมวลผลตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการฯ กำหนด สรุปผลการประเมิน และบันทึกข้อมูลลงใน ปพ.1 แล้วส่งครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้น

6. ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้นแจ้งผลการประเมินต่อผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้อง


7. คณะกรรมการฯ นำข้อมูลต่างๆ มาพิจารณาวางแผนงานต่อไป

ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปุชฉา : ครูผู้สอนสามารถประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในการตัดสินรายวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้หรือไม่

วิสัชนา :

ไม่ได้ เนื่องจากการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของสัดส่วนการให้คะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนปลายปี/ปลายภาค เพราะในตัวชี้วัดชั้นปีระบุคุณลักษณะที่ต้องการอยู่แล้ว สำหรับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ตัดสินและรายงานแยกเฉพาะ แต่พฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกถึงคุณลักษณะต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรม/โครงการต่างๆ และในกิจวัตรประจำวันของผู้เรียนนั้น ครูสามารถประเมินด้วยการสังเกตและบันทึกไว้ และรายงานผลเฉพาะไม่รวมอยู่ในการตัดสินรายวิชาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่วนหลักฐาน/ร่องรอยการแสดงออกถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์สามารถเป็นแหล่งที่มาที่เดียวกันกับการประเมินในรายวิชา แต่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนในรายวิชา

ผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

ปุชฉา : หากผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร

วิสัชนา :

ครูผู้สอนและคณะกรรมการประเมินควรเร่งจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในตัวชี้วัด ที่มีจุดบกพร่อง สมควรได้รับการแก้ไขในระยะเวลาพอสมควรที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ และสร้างผลงานที่สะท้อนความสามารถในตัวชี้วัดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขได้อย่างแท้จริง ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น มอบหมายงานให้ผู้เรียน ได้อ่าน คิดวิเคราะห์จากเรื่องที่อ่าน และสามารถสื่อสารสาระสำคัญจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วนำผลงานไปเทียบกับแนวการให้คะแนน และเกณฑ์การตัดสินที่สถานศึกษากำหนดตั้งแต่ระดับดีเยี่ยม ดี ผ่าน

วิธีการใดในการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

ปุชฉา : ควรใช้วิธีการใดในการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

วิสัชนา :

วิธีการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ควรจัดในระหว่างการเรียนการสอนในห้องเรียนตามปกติเป็นดีที่สุด ไม่ควรแยกมาจัดสอบเหมือนการสอบปลายภาคหรือปลายปีของการจบการศึกษาภาคบังคับ และการจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยกเว้นถ้าสถานศึกษาได้พัฒนาแบบทดสอบหลายๆ ชุด นำมาใช้ประเมินเพื่อตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียนในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ในระหว่างการเรียนการสอน แล้วนำมาสรุปผลเป็นระยะๆ สำหรับรายงานผลความก้าวหน้าเมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่สถานศึกษากำหนดไว้

การประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

ปุชฉา : การประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน มีรูปแบบการประเมินอย่างไร

วิสัชนา :

สถานศึกษาสามารถประเมินตามรูปแบบที่กำหนดให้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือหลายรูปแบบ หรือรูปแบบอื่นๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสมกับสภาพและบริบทของโรงเรียน ดังนี้

รูปแบบที่ 1 การบูรณาการตัวชี้วัดของการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ร่วมกับการประเมินผลกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

รูปแบบที่ 2 การใช้เครื่องมือหรือแบบทดสอบประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

รูปแบบที่ 3 การกำหนดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ให้ผู้เรียนปฏิบัติโดยเฉพาะ


รูปแบบที่ 4 การบูรณาการตัวชี้วัดการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ร่วมกับการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

การเทียบโอนผลการเรียน

ปุชฉา : กรณีการเทียบโอนผลการเรียนต้องจัดให้มีคณะกรรมการหรือไม่

วิสัชนา :

การเทียบโอนผลการเรียนให้ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการเทียบโอน จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่ควรเกิน 5 คน โดยมีแนวทางในการเทียบโอน ดังนี้

1. กรณีผู้ขอเทียบโอนมีผลการเรียนมาจากหลักสูตรอื่น ให้นำรายวิชาหรือหน่วยกิตที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้/จุดประสงค์/เนื้อหาที่สอดคล้องกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 มาเทียบโอนผลการเรียน และพิจารณาให้ระดับผลการเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่รับเทียบโอน

2. กรณีการเทียบโอนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ให้พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน (ถ้ามี) โดยให้มีการประเมินด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย และให้ระดับผลการเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่รับเทียบโอน


3. กรณีการเทียบโอนนักเรียนที่เข้าโครงการแลกเปลี่ยนต่างประเทศ ให้ดำเนินการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องหลักการและแนวปฏิบัติการเทียบชั้นการศึกษาสำหรับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนการเทียบโอนผลการเรียนในหลักสูตรเดียวกัน (หลักสูตรแกนกลางฯ) จากโรงเรียนหนึ่งมาเข้าเรียน อีกโรงเรียนหนึ่ง โรงเรียนสุดท้ายที่เด็กเรียนจบหลักสูตร จะต้องออกเอกสาร ปพ.1 เฉพาะชั้นเรียนในโรงเรียนสุดท้ายแล้วแนบ ปพ.1 จากโรงเรียนเดิมด้วย ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาฯ ที่สพฐ.619/2552 ปฏิบัติเช่นนี้ตลอดไปหรือไม่หรือเฉพาะช่วงต่อเนื่องของหลักสูตร 2544 มาเป็นหลักสูตรแกนกลาง 2551 เท่านั้นตรงนี้ ทางฝ่ายทะเบียนและฝ่ายวิชาการยังมีข้อสงสัยและถกเถียงในการปฏิบัติ ในกรณีนี้ปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้อง ซึ่งบางโรงเรียนบอกว่า นักเรียนเรียนไม่จบปีการศึกษาไม่ต้องออก ปพ.1 หรือต้องเรียนจบปีการศึกษาแล้วจึงจะออกให้ หรือออกให้นักเรียนทุกกรณีที่ออกจากโรงเรียน ช่วยแนะนำวิธีการที่ถูกต้องให้ด้วย

เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษา

ปุชฉา : เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษา มีอะไรบ้าง

วิสัชนา :

มัธยมศึกษาตอนต้น

1. ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่เกิน 81 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 66 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด

2. ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 66 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 11 หน่วยกิต

3. ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด

4. ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
5. ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด

มัธยมศึกษาตอนปลาย

1. ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่เกิน 81 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 41 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด

2. ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 41 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

3. ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด

4. ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด


5. ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด

ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาที่จะได้รับการเลื่อนชั้น

ปุชฉา : ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาที่จะได้รับการเลื่อนชั้นต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

วิสัชนา :

1. รายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมได้รับการตัดสินผลการเรียนผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

2. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ในการอ่าน
คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน


3. ระดับผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นควรไม่ต่ำกว่า 1.00 ทั้งนี้ รายวิชาใดที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน สถานศึกษาสามารถซ่อมเสริมผู้เรียนให้ได้รับการแก้ไขในภาคเรียนถัดไป ทั้งนี้สำหรับภาคเรียนที่ 2 ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น

การเปลี่ยนผล “มผ”

ปุชฉา : การเปลี่ยนผลมผ จะต้องทำอย่างไร

วิสัชนา :


สถานศึกษาต้องจัดซ่อมเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมในส่วนที่ผู้เรียนไม่ได้เข้าร่วมหรือไม่ได้ทำจนครบถ้วนแล้วจึงเปลี่ยนผลจากมผเป็นได้ ทั้งนี้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในภาคเรียนนั้นๆ ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัย ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จะพิจารณาขยายเวลาออกไปอีกไม่เกิน 1 ภาคเรียน สำหรับภาคเรียนที่ 2 ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น

การเรียนซ้ำรายวิชา

ปุชฉา : การเรียนซ้ำรายวิชาจะต้องดำเนินการอย่างไร

วิสัชนา :

การเรียนซ้ำรายวิชา ผู้เรียนที่ได้รับการสอนซ่อมเสริมและสอบแก้ตัว 2 ครั้ง แล้วไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้เรียนซ้ำรายวิชานั้น ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาในการจัดให้เรียนซ้ำในช่วงใดช่วงหนึ่งที่สถานศึกษาเห็นว่าเหมาะสม เช่น พักกลางวัน วันหยุด ชั่วโมงว่างหลังเลิกเรียน ภาคฤดูร้อน เป็นต้น


ในกรณีที่ภาคเรียนที่ 2 หากผู้เรียนยังมีผลการเรียน “0” “” “มสให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนเปิดภาคเรียนปีการศึกษาถัดไป สถานศึกษาอาจเปิดการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อนได้ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/ต้นสังกัดเป็นผู้พิจารณาประสานงานให้มีการดำเนินการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อนเพื่อแก้ไขผลการเรียนของผู้เรียน

การเปลี่ยนผลการเรียน “มส”

ปุชฉา : การเปลี่ยนผลการเรียนมส จะต้องทำอย่างไร

วิสัชนา :

1. กรณีผู้เรียนได้ผลการเรียนมสเพราะมีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 แต่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียนในรายวิชานั้น ให้สถานศึกษาจัดให้เรียนเพิ่มเติม โดยใช้ชั่วโมงสอนซ่อมเสริม หรือใช้เวลาว่าง หรือใช้วันหยุด หรือมอบหมายงานให้ทำ จนมีเวลาเรียนครบตามที่กำหนดไว้ในรายวิชานั้น แล้วจึงให้วัดผลปลายภาคเป็นกรณีพิเศษ ผลการแก้มสให้ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน “1” การแก้มสกรณีนี้ให้กระทำให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น ถ้าผู้เรียนไม่มาดำเนินการแก้มสตามระยะเวลาที่กำหนดไว้นี้ให้เรียนซ้ำ ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัย ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จะขยายเวลาการแก้มสออกไปอีกไม่เกิน1 ภาคเรียน แต่เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้
        1) ถ้าเป็นรายวิชาพื้นฐานให้เรียนซ้ารายวิชานั้น
        2) ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติมให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา ให้เรียนซ้าหรือเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่

2. กรณีผู้เรียนได้ผลการเรียนมสเพราะมีเวลาเรียนน้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียนทั้งหมด ให้สถานศึกษาดำเนินการ ดังนี้
        1) ถ้าเป็นรายวิชาพื้นฐานให้เรียนซ้ารายวิชานั้น

        2) ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติมให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา ให้เรียนซ้าหรือเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ ในกรณีที่เปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ ให้หมายเหตุในระเบียนแสดงผลการเรียนว่าเรียนแทนรายวิชาใด

การเปลี่ยนผลการเรียน “ร”

ปุชฉา : การเปลี่ยนผลการเรียน จะต้องทำอย่างไร

วิสัชนา :

ให้ผู้เรียนดำเนินการแก้ไขตามสาเหตุเมื่อผู้เรียนแก้ไขปัญหาเสร็จแล้ว ให้ได้รับระดับผลการเรียนตามปกติ (ตั้งแต่ 0-4) ถ้าผู้เรียนไม่ดำเนินการแก้ไขกรณีที่ส่งงานไม่ครบ แต่มีผลการประเมินระหว่างภาคเรียนและปลายภาค ให้ผู้สอนนำข้อมูลที่มีอยู่ตัดสินผลการเรียน ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัย ให้อยู่ในดุลย พินิจของสถานศึกษาที่จะขยายเวลาการแก้ออกไปไม่เกิน 1 ภาคเรียน สำหรับภาคเรียนที่ 2 ต้องดำเนิน การให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานั้น เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้เรียนซ้ำ หากผลการเรียนเป็น “0” ให้ดำเนินการแก้ไขตามหลักเกณฑ์

การจัดการศึกษาในปัจจุบัน

ปุชฉา : การจัดการศึกษาในปัจจุบันนักเรียนสามารถเรียนซ้าชั้นได้หรือไม่

วิสัชนา :

ได้ โดยผู้เรียนที่ไม่ผ่านรายวิชาจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น สถานศึกษาอาจตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้เรียนซ้ำชั้นได้ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงวุฒิภาวะและความรู้ความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ผู้เรียนมีระดับผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นต่ำกว่า 1.00 และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียน ในระดับชั้นที่สูงขึ้น
2. ผู้เรียนมีผลการเรียน 0, , มส เกินครึ่งหนึ่งของรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษานั้น ทั้งนี้หากเกิดลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือทั้ง 2 ลักษณะ ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา หากเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรก็ให้ซ้ำชั้น โดยยกเลิกผลการเรียนเดิม และให้ใช้ผลการเรียนใหม่แทน หากพิจารณาแล้วไม่ต้องเรียนซ้ำชั้นให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาในการแก้ไขผลการเรียนโดยปฏิบัติดังนี้
      1) ถ้าเป็นรายวิชาพื้นฐาน ให้เรียนซ้ารายวิชานั้น

      2) ถ้าเป็นรายวิชาเพิ่มเติม ให้เรียนซ้าหรือเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา ในกรณีที่เปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ ให้หมายเหตุในระเบียนแสดงผลการเรียนว่าเรียนแทนรายวิชาใด

การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปุชฉา : การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้ผลการประเมินอย่างไร

วิสัชนา :

การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้ผลการประเมินเป็นผ่านและไม่ผ่าน" กรณีที่ผ่านให้ระดับผลการเรียนเป็นดีเยี่ยม” “ดีและผ่าน


เกณฑ์การตัดสินผลการเรียน

ปุชฉา : เกณฑ์การตัดสินผลการเรียนระดับมัธยมศึกษามีอะไรบ้าง

วิสัชนา :

1. ผู้เรียนต้องมีเวลาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด

2. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัดและผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

3. ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา

4. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  ในการอ่าน คิดวิเคราะห์


องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ปุชฉา : องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีอะไรบ้าง

วิสัชนา :

องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีดังนี้

1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้

2. การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

3. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

4. การประเมินกิจกรรมพฒนาผู้เรียน



หลักการในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ปุชฉา : หลักการในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีอะไรบ้าง

วิสัชนา :

1. สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบการวัดและการประเมินผลของผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม

2. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนและตัดสินผลการเรียน

3. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ต้องสอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กำหนดในหลักสูตรสถานศึกษา และจัดให้มีการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตลอดจนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอน จึงต้องดำเนินการด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลายเพื่อให้สามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนได้อย่างรอบด้านทั้งด้านความรู้ ความคิด กระบวนการพฤติกรรม และเจตคติ

5. การประเมินผู้เรียนพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ การร่วมกิจกรรม และการทดสอบ ควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ และรูปแบบการศึกษา

6. เปิดโอกาสให้ผู้เรียน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบผลการประเมินผลการเรียนรู้

7. ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษา และระหว่างรูปแบบการศึกษาต่างๆ ให้สถานศึกษาจัดทำและออกเอกสารหลักฐานการศึกษา เพื่อเป็นหลักฐานการประเมินผลตามสาระการเรียนรู้ รายงานผลการเรียน แสดงวุฒิการศึกษา และรับรองผลการเรียนของผู้เรียน